เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีการโพสต์ข้อความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายก...
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีการโพสต์ข้อความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผ่านเฟซบุ๊กระบุ เข้าใจในความรู้สึกของนายกฯ ในฐานะผู้นำต้องเปิดใจรับฟังการวิพากษ์วิจารณ์ ว่า เรียนว่าทางผู้บังคับบัญชาพร้อมรับฟังมาตลอด ได้มีการกำหนดช่องทางการรับฟังที่เป็นทางการในหลายช่องทางมากมายกว้างขวางทั่วประเทศ เพื่อจะนำสิ่งที่ได้รับไปเข้าสู่การพัฒนาปรับอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมและประเทศชาติอย่างแท้จริง และข้อมูลที่ได้รับตามช่องทางที่กำหนดนี้ส่วนใหญ่มีเหตุมีผลที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาตอบสนองไปตามกระบวนการ ไม่เหมือนที่พบในบางกรณีที่บางกลุ่มบางบุคคลพยายามหาช่องไปแสดงออกนอกช่องทาง เพื่อให้เป็นประเด็นในมุมต่างๆ แบบมีนัยยะแอบแฝง
พ.อ.วินธัย กล่าวว่า สำหรับที่กล่าวถึงกรณีเปรียบเทียบว่าในช่วงของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกฯ ไม่สามารถออกกฎหมาย หรือคำสั่งใดๆ ให้เป็นกฎหมายได้นั้น ขอเรียนว่า สังคมเข้าใจถึงบริบทในความแตกต่างได้ โดยเฉพาะข้อจำกัดในเรื่องของเวลาหรือเทอมในการทำงาน มั่นใจว่าในช่วงเวลาปกติถึงแม้จะไม่มีกฎหมายพิเศษก็ยังคงสามารถดำเนินการบริหารแก้ไขสิ่งต่างๆ ได้อยู่ที่ความตั้งใจ หรือความพยายามที่สามารถแสดงให้สังคมได้รับรู้รับทราบ สำหรับที่กล่าวถึงข้อห่วงใยการใช้กฎหมายปลดคนนั้นคนนี้ เพราะไม่สนองตอบนโยบาย หรือเอากฎหมายมาบังคับใช้คนให้ทำงานตามคำสั่งจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปนั้น ขอเรียนว่า การปลดหรือปรับเปลี่ยนบุคคลในช่วงก่อนในหลายกรณีสังคมอาจยังรู้สึกเคลือบแคลงมองว่าเป้าหมายอาจเป็นเรื่องการสมประโยชน์ในมุมทางการเมืองเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งมั่นใจว่าสำหรับในปัจจุบันที่การปรับเปลี่ยนบุคคลหรือข้าราชการคนใด เป็นเรื่องความเหมาะสมตามเนื้องานเป็นสำคัญ เพื่อให้การตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นไปอย่างสมบูรณ์และเต็มประสิทธิภาพ สอดรับกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน โดยไม่มีเรื่องของการเมืองใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง
“สำหรับกรณีที่กล่าวว่าได้พูดมาตลอดว่าคนที่มีความคิดเห็นต่างไม่ได้หมายความว่าจะทำให้บ้านเมืองแตกแยกนั้น อาจต้องยอมรับว่าในสังคมไทยมักมีให้เห็นอยู่ 2 ลักษณะ คือแบบความคิดเห็นต่าง แต่มีพฤติกรรมอยู่ภายในกรอบ กับแบบมีความคิดเห็นต่างแต่ชอบมีพฤติกรรมนอกกรอบ และยิ่งในอดีตที่สังคมเห็นและสัมผัสได้ถึงพัฒนาการในความเห็นต่างของสังคมไทย ไม่เพียงทำให้บ้านเมืองนั้นดูแตกแยก หรือแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างเดียว ยังนำมาซึ่งการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินซึ่งสังคมไหนๆ ก็ไม่สามารถยอมรับได้ การบริหารจัดการความคิดเห็นที่แตกต่างจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้องระมัดระวัง ยืนยันว่าแนวทางในปัจจุบันไม่ใช่คนในสังคมจะเห็นต่างไม่ได้ แต่การเห็นต่างนั้นควรอยู่ในช่องทางที่เหมาะสม ปราศจากความรุนแรง กรณีมีประเด็นข้อกังวลสงสัยต่างๆ ก็ควรเป็นลักษณะที่จับต้องได้จริงเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนำไปสู่การปรับพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับสังคมและประเทศชาติอย่างแท้จริง” โฆษก คสช. ระบุ
ขอขอบคุณข่าวจาก: matichon.co.th
พ.อ.วินธัย กล่าวว่า สำหรับที่กล่าวถึงกรณีเปรียบเทียบว่าในช่วงของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกฯ ไม่สามารถออกกฎหมาย หรือคำสั่งใดๆ ให้เป็นกฎหมายได้นั้น ขอเรียนว่า สังคมเข้าใจถึงบริบทในความแตกต่างได้ โดยเฉพาะข้อจำกัดในเรื่องของเวลาหรือเทอมในการทำงาน มั่นใจว่าในช่วงเวลาปกติถึงแม้จะไม่มีกฎหมายพิเศษก็ยังคงสามารถดำเนินการบริหารแก้ไขสิ่งต่างๆ ได้อยู่ที่ความตั้งใจ หรือความพยายามที่สามารถแสดงให้สังคมได้รับรู้รับทราบ สำหรับที่กล่าวถึงข้อห่วงใยการใช้กฎหมายปลดคนนั้นคนนี้ เพราะไม่สนองตอบนโยบาย หรือเอากฎหมายมาบังคับใช้คนให้ทำงานตามคำสั่งจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปนั้น ขอเรียนว่า การปลดหรือปรับเปลี่ยนบุคคลในช่วงก่อนในหลายกรณีสังคมอาจยังรู้สึกเคลือบแคลงมองว่าเป้าหมายอาจเป็นเรื่องการสมประโยชน์ในมุมทางการเมืองเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งมั่นใจว่าสำหรับในปัจจุบันที่การปรับเปลี่ยนบุคคลหรือข้าราชการคนใด เป็นเรื่องความเหมาะสมตามเนื้องานเป็นสำคัญ เพื่อให้การตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นไปอย่างสมบูรณ์และเต็มประสิทธิภาพ สอดรับกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน โดยไม่มีเรื่องของการเมืองใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง
“สำหรับกรณีที่กล่าวว่าได้พูดมาตลอดว่าคนที่มีความคิดเห็นต่างไม่ได้หมายความว่าจะทำให้บ้านเมืองแตกแยกนั้น อาจต้องยอมรับว่าในสังคมไทยมักมีให้เห็นอยู่ 2 ลักษณะ คือแบบความคิดเห็นต่าง แต่มีพฤติกรรมอยู่ภายในกรอบ กับแบบมีความคิดเห็นต่างแต่ชอบมีพฤติกรรมนอกกรอบ และยิ่งในอดีตที่สังคมเห็นและสัมผัสได้ถึงพัฒนาการในความเห็นต่างของสังคมไทย ไม่เพียงทำให้บ้านเมืองนั้นดูแตกแยก หรือแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างเดียว ยังนำมาซึ่งการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินซึ่งสังคมไหนๆ ก็ไม่สามารถยอมรับได้ การบริหารจัดการความคิดเห็นที่แตกต่างจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้องระมัดระวัง ยืนยันว่าแนวทางในปัจจุบันไม่ใช่คนในสังคมจะเห็นต่างไม่ได้ แต่การเห็นต่างนั้นควรอยู่ในช่องทางที่เหมาะสม ปราศจากความรุนแรง กรณีมีประเด็นข้อกังวลสงสัยต่างๆ ก็ควรเป็นลักษณะที่จับต้องได้จริงเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนำไปสู่การปรับพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับสังคมและประเทศชาติอย่างแท้จริง” โฆษก คสช. ระบุ
ขอขอบคุณข่าวจาก: matichon.co.th