FALES

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

หน้าเว็บ

UPDATE

latest

ชาวนาธาตุพนมเมินข้าวราคาตก แปรรูปข้าวเม่าขายรับทรัพย์ปีละกว่า 10 ล้าน

แม้ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องราคาข้าวตกต่ำ แต่ไม่เป็นปัญหาสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ ต.ฝั่งแดง และ ต.น้ำก่ำ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ซึ่งเป็นพื้นที่แห่ง...

แม้ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องราคาข้าวตกต่ำ แต่ไม่เป็นปัญหาสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ ต.ฝั่งแดง และ ต.น้ำก่ำ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ซึ่งเป็นพื้นที่แห่งเดียวของ จ.นครพนม ที่สืบทอดอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน ทำข้าวเม่ามานานกว่า 30 ปี 
ชาวบ้านจะเริ่มลงมือปลูกข้าวเม่า หรือข้าวพันธุ์ กข. 15  และ กข. 10  ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมของทุกปี  ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน  ถึงช่วงใกล้ออกพรรษา เดือนกันยายน-ตุลาคม ไปถึงเทศกาลปีใหม่ จะเป็นช่วงที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวมาทำข้าวเม่า
วิธีการทำจะใช้ข้าวที่อยู่ระหว่างตั้งท้องออกรวง  ที่เป็นเมล็ดข้าวน้ำนม  ตามต้นตำรับภูมิปัญญาชาวบ้าน  นำมาแปรรูป  คั่วให้สุก  ก่อนนำไปสีกะเทาะเปลือกออกมาเป็นข้าวเม่า และนำไปตำด้วยครกกระเดื่องให้เกิดความนุ่ม  เพื่อให้ได้ข้าวเม่าที่มีความนุ่ม หอมอร่อย  เป็นข้าวเม่าแท้ 100 เปอร์เซ็นต์  นำส่งขายตลาดในช่วงประเพณีบุญออกพรรษาที่ตลาดมีความต้องการสูง สร้างรายได้หมุนเวียนปีละกว่า 10  ล้านบาท 
ชาวบ้านขายข้าวเม่าในราคากิโลกรัมละประมาณ  80-100 บาท ถือเป็นการแปรรูปข้าวนำไปขายในราคาดี  แก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำอีกด้วย  ทำให้ทุกปีมีพ่อค้าแม่ค้ามาสั่งซื้อจนผลิตไม่ทัน กลายเป็นผลผลิตจากอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้านที่สร้างรายได้เป็นอย่างดี

นายสว่าง  คำมุก  อายุ 54 ปี  ผู้ใหญ่บ้านแก่งโพธิ์  ต.น้ำก่ำ อ.ธาตุพนม กล่าวว่า สำหรับข้าวเม่าถือเป็นอาชีพของชาวบ้าน สืบทอดกันมาแต่โบราณ ที่นิยมนำข้าวน้ำนม มาทำเป็นข้าวเม่า เพื่อนำไปถวายพระทำบุญ และรับประทานตามงานบุญประเพณีต่างๆ  เนื่องจากช่วงออกพรรษา ไปถึงเทศกาลปีใหม่ จะเป็นช่วงที่ชาวอีสานมีงานบุญประเพณีมากมาย
ข้าวเม่าเป็นเมนูภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้รับความนิยม เพราะสามารถนำไปปรุงเป็นของหวานได้ เนื่องจากมีรสชาติอร่อยหอม สร้างรายได้แต่ละปีมีเงินหมุนเวียนในหมู่บ้านปีละกว่า 10 ล้านบาท ทำให้เกษตรในพื้นที่ส่วนใหญ่ จะทำนาเก็บผลผลิตมาทำข้าวเม่า  มีพื้นที่มากกว่า 1,000  ไร่ 
ในรอบ 1 ปี จะสามารถทำนาได้ถึง 3 ครั้ง เพราะมีโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ทำให้มีน้ำทำนาตลอดหน้าแล้ง ไม่เพียงสร้างรายได้แก่คนที่มีอาชีพทำข้าวเม่าเท่านั้น ยังส่งผลดีต่อชาวบ้านที่เป็นแรงงานเก็บเกี่ยว จนถึงแรงงานแปรรูป  ได้ค้าจ้าง 300 บาทต่อวัน  ทำให้ชาวบ้านมีงานมีรายได้เสริมอีกทาง แก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำได้เป็นอย่างดี